ชื่อโรค : โรคเกล็ดพอง ท้องมาน-ท้องบวมตัวเปื่อย
อาการ : บริเวณปลายทาง-คลีบ เป็นขุยขาว ลักษณะเปื่อยยุ่ย , ปลามีอาการเซื่องซึม ไม่ว่าย กินอาหารน้อยลง และหลบเข้ามุมซึ่งอาการเริ่มต้นของโรคนี้เป็นอาการที่สังเกตุได้ยาก เพราะในระยะแรกจะเหมือนกับปลาอ้วนถ้วนสมบูรณ์ดี แต่ก็มีหลักในการมองง่ายๆคือให้สังเกตุที่เกล็ดของปลา เพราะโดยปรกติแล้วปลาสุขภาพดีจะมีเกล็ดที่เรียงกันอย่างสม่ำเสมอ เป็นระเบียบ และจะต้องปกคลุมผิวหนังของปลาได้หมด แต่ถ้าเกล็ดเริ่มถ่างออก ไม่เป็นระเบียบ มีระยะห่างระหว่างเกล็ดมากขึ้น หรือมองเห็นผิวหนังของปลาได้ แสดงว่าปลาเริ่มป่วยแล้ว นอกจากนั้นมีอาการอื่นๆอีกเช่น อ้วนขึ้นอย่างรวดเร็ว ว่ายไม่ตรง จมลงก้นตู้บ่อยครั้ง ไม่ว่ายน้ำ เซื่องซึม และกินได้น้อยลง เป็นต้น
สาเหตุ : สำหรับสาเหตุนั้นสันนิฐานว่าเกิดจากการติดเชื้อไวรัสและแบททีเรียในน้ำ เนื่องมาจากการให้อาหารมากเกินไป และดูแลคุณภาพน้ำได้ไม่ดี ปล่อยให้ปลาอยู่ในน้ำที่เน่าเสียเป็นเวลานาน จนทำให้เกิดการติดเชื้อในลำไส้ของปลา หรือบางกรณีที่ใส่เกลือในน้ำมากจนเกินไป ส่งผลโดยตรงต่อไตของปลา ทำให้เกิดการบวมน้ำ จนท้องบวมขึ้นมาได้
ขั้นตอนการรักษา
1. เตรียมน้ำ (ที่พักไว้แล้ว) ในภาชนะแยก เพื่อความสะดวกแนะนำให้ใช้กาละมัง ปริมาณพอสมควร โดยให้ระดับน้ำสูงกว่าตัวปลานิดหน่อย เพื่อลดความดัน ในกรณีที่ปลาเริ่มว่ายไม่สะดวก
2. เตรียม ปั๊มออกซิเจน ช่วงที่ปลารักษาตัว อ็อกซิเจนสำคัญมาก ควรเปิดให้แรงกว่าปรกติ แต่ต้องระวังไม่ให้กระทบกับตัวปลา
3. ปรับสภาพน้ำด้วยเกลือสมุทรเล็กน้อย โดยใส่ประมาณ 1/2 ช้อนชาต่อน้ำ 2 ลิตร
4. การเตรียมยา เราสามารถใช้ยาได้ 2 ประเภท คือยาที่ใช้รักษาปลาโดยตรง กับยาฆ่าปฏิชีวนะสำหรับคน ซึ่งทั้งสองแบบจะมีตัวยาที่มีสรรพคุณคล้ายคลึงกัน แต่ยารักษาปลาโดยตรงนั้นจะมีสูตรที่ทำให้ละลายน้ำได้ดี และไม่มีส่วนประกอบอื่นๆที่ไม่จำเป็นในการรักษาปลา เพื่อลดปัญหาการเน่าเสียของน้ำ แต่ถ้าหากไม่สามารถหาได้ในเวลาที่จำเป็นที่ต้องใช้งาน การใช้ยาปฏิชีวนะที่ใช้ในคนก็เป็นการเลือกหนึ่ง
การใช้ยาสำหรับรักษาปลาโดยตรง ใช้ยาชื่อ ยาเหลือง ตัวยาจะมีลักษณะเป็นผง ให้นำมาผสมกับน้ำในขวดแยกต่างหากก่อน โดยน้ำที่ได้จะมีสีเหลืองเข้ม พอผสมลงในภาชนะที่เตรียมน้ำไว้แล้ว สังเกตให้มีสีเหลืองใสพอประมาณ หลังจากนั้นให้สังเกตอาการ และให้ถ่ายน้ำออก 1/3 ทุกๆวัน เพื่อคุณภาพของน้ำที่ดี และอย่าลืมผสมยาเพิ่มในอัตราส่วนที่เหมาะสม
การใช้ยาปฏิชีวนะที่ใช้กับคน ใช้ยาชื่อ Oxolinic Acid (ออคโอลินิค แอซิด) หรือถ้าหาไม่ได้ให้ใช้ Amoxicillin (อะม็อกซี่ซิลิน) แทนก็ได้ สามารถหาซื้อได้จากร้านขายยาทั่วไป โดยใช้อัตราส่วนตัวยา 30 มิลลิกรัม ต่อ น้ำ 1 ลิตร โดยตอนซื้อให้สอบถามกับทางเภสัชกรว่าใน 1 แคปซูลมีตัวยากี่มิลลิกรัม โดยให้นำตัวยาที่เป็นผงออกจากแคปซูล มาผสมกับน้ำให้ละลายดีก่อนแล้วจึงใส่ในภาชนะที่เตรียมน้ำไว้แล้ว หลังจากนั้นให้สังเกตอาการ และให้ถ่ายน้ำออกครึ่งนึงทุกๆ 2 วัน เพื่อคุณภาพของน้ำที่ดี และอย่าลืมผสมยาเพิ่มในอัตราส่วนที่เหมาะสม
การนำยาผสมกับอาหารปลา การเป็นวิธีการรักษาอีกแบบ ซึ่งให้ผลค่อนข้างดี เพราะปลาจะได้รับยาโดยตรง แต่เหมาะกับปลาที่ยังกินอาหารได้ดีอยู่ ขั้นตอนคือให้นำยา 1 แคปซูลมาแกะเอาแต่ผงยา แล้วผสมกับน้ำเล็กน้อยให้ละลายหมด นำน้ำยาที่ได้มาผสมกับอาหารปลา โดยกะปริมาณว่ายา 1 แคปซูลต่ออาหารที่ปลาจะกินหมดใน 3 วัน หลังจากคลุกเคล้าให้เข้ากันดีแล้ว ให้นำไปตากลมให้แห้งดี แล้วจึงนำมาให้ปลากิน โดยแบ่งให้วันละ 2 มื้อ เช้า-เย็นในปริมาณที่ไม่มากนัก โดยสังเกตให้ปลากินหมดให้เราเห็น ถ้าเหลือลอยอยู่ก็ให้ช้อนออกเพื่อกันน้ำเสีย
ในระหว่างที่ปลาอยู่ระหว่างการรักษาและพักฟื้นนั้น ปลาจะกินอาหารน้อยลงมาก ควรงดหรือให้อาหารในปริมาณที่น้อยกว่าปรกติ อย่าให้เหลือลอยคาอยู่ในอ่าง เพื่อลดปัญหาน้ำเน่าเสีย ดูแลอุณหภูมิน้่ำที่คงที่และไม่เย็นจนเกินไปก็เป็นปัจจัยที่สำคัญ เราควรที่จะนำอ่างพักปลามาให้โดนแดดในตอนเช้าบ้าง เพื่อกระตุ้นกระบวนการรักษาของตัวปลาให้ดีมากยิ่งขึ้น แต่ต้องระวังอย่าให้น้ำร้อนเกินไปด้วย และอย่าลืมเตรียมพักน้ำไว้ล่วงหน้าให้มีปริมาณที่เพียงพออยู่เสมอ
ที่มาของภาพ
ขอบคุณคุณ roanglex จาก https://aqua.c1ub.net/ข อ ฝ า ก ร้ า น ด้ ว ย น ะ ค รั บ
แวะเลือกชมสินค้าราคาโปรโมชั่น พร้อมรับของแถม
และอุปกรณ์ตู้ปลาอื่นๆอีกมากมายได้ที่
ร้ า น บ้ า น ป ล า @ S H O P E E
และอุปกรณ์ตู้ปลาอื่นๆอีกมากมายได้ที่
ร้ า น บ้ า น ป ล า @ S H O P E E
-------------------------------------------------------
ปั๊มออกซิเจน (รุ่น 1 หัว) อุปกรณ์ครบชุด พร้อมใช้งาน ราคา 119 บาท |
ชุดน้ำพุ พร้อมปั๊ม และกระบอกกรอง ราคา 199 บาท |
ปั๊มน้ำตู้ปลา พร้อมกระบอกกรองไมโครทำให้น้ำใส พร้อมเพิ่มออกซิเจนในน้ำ ราคา 169 บาท |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น