ชื่อโรค : ปลาหงายท้อง ( สูญเสียการทรงตัว - ถุงลมอักเสบ )
อาการ : ปลาสูญเสียการทรงตัว ไม่สามารถว่ายได้ตามปรกติ จนถึงขั้น ตีลังกา หงายท้อง
สาเหตุ : อาการปลาสวยงามว่ายหงายท้องมักเป็นอาการที่พบได้บ่อยมากที่สุด โดยเฉพาะมักจะเกิดมากกับปลาทอง หรือปลาที่มีรูปร่างค่อนข้างอ้วนใหญ่ โดยสาเหตุนั้นเกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น
1. การอักเสบหรือติบตันของถุงลมในตัวปลา
2. การอักเสบ , เกิดก๊าซ หรืออาหารไม่ย่อยภายในกระเพาะอาหารของปลา
3. การถูกทำร้าย หรือการกระทบกระแทกอย่างรุนแรง
4. และมักเกิดมากกับปลาที่มีอายุมาก และอยู่ในช่วงสุดท้ายของชีวิตแล้ว
ขั้นตอนการรักษา : ทั้งนี้การที่จะรักษาให้หายนั้นขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ และระยะเวลาที่เป็นมา โดยหากสังเกตเห็นความผิดปกตินี้ตั้งแต่เริ่มแรก คือเริ่มมีอาการว่ายผิดปกติ มีอาการหมุนตัวตีลังกาได้ง่าย แต่ยังสามารถว่ายกลับมาในท่าปกติได้ ก็จะสามารถรักษาได้ง่าย
เนื่องจากปลาที่มีอาการป่วยนี้จะมีสภาพร่างกายอ่อนแอมาก บางตัวไม่สามารถกินอาหารได้เอง จึงควรแยกเขาออกมาเลี้ยงในอ่างพยาบาลตามลำพัง เพื่อสะดวกในการดูแลอาการและเปลี่ยนน้ำ
1. เตรียมอ่างพยาบาลที่มีขนาดไม่ใหญ่มาก โดยพอให้ปลาว่ายได้สะดวก มีปริมาณน้ำที่ไม่ลึกมาก
2. เปิด ปั๊มออกซิเจน เพื่อเพิ่มปริมาณออกซิเจนในน้ำให้เพียงพออยู่เสมอ
3. ใส่ ยาเหลือง เพื่อช่วยลดอาการอักเสบหรืออาการติดเชื้อในตัวปลา
4. ปรับสภาพน้ำด้วยเกลือสมุทรเล็กน้อย โดยใส่ประมาณ 1/2 ช้อนชาต่อน้ำ 2 ลิตร
5. ในช่วงการรักษาให้งดอาหารทั้งหมด โดยเริ่มให้เล็กน้อยเมื่ออาการทรงตัวมากขึ้น (ปลาสวยงามทั่วไปสามารถงดอาหารได้หลายวัน)
วิธีใช้ ยาเหลืองตัวยาจะมีลักษณะเป็นผง ให้นำมาผสมกับน้ำในขวดแยกต่างหากก่อน โดยน้ำที่ได้จะมีสีเหลืองเข้ม พอผสมลงในภาชนะที่เตรียมน้ำไว้แล้ว สังเกตให้มีสีเหลืองใสพอประมาณ หลังจากนั้นให้สังเกตอาการ และให้ถ่ายน้ำออก 1/3 ทุกๆวัน เพื่อคุณภาพของน้ำที่ดี และอย่าลืมผสมยาเพิ่มในอัตราส่วนที่เหมาะสม
ทั้งนี้หากรักษาแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น หรือทรุดลง อาจจำเป็นที่จะต้องให้สัตว์แพทย์เป็นผู้วิเคราะห์ถึงสาเหตุหรือแนวทางการรักษาโดยละเอียด เช่นทำการเจาะระบายถุงลมให้สมดุล ถึงอย่างไรก็ตามวิธีนี้เหล่านี้ก็ไม่สามารถการันตีว่าปลาจะกลับมาว่ายได้เหมือนเดิม แต่ก็จะช่วยให้คุณภาพชีวิตของปลาดีขึ้น โดยโรงพยาบาลสัตว์ที่รับรักษานั้นมีที่
หน่วยปฏิบัติการวิจัยสัตว์น้ำสวยงามและสัตว์น้ำเพื่อการอนุรักษ์
ตึก 60 ปี ชั้น 2 คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ถนนอังรีดูนังต์ เขตปทุมวัน กรุงเทพ 10330
โทร 02-218-9510 โทรสาร 02-251-8887
เวลาทำการ :
วันจันทร์ - วันศุกร์ เปิดให้บริการ 09.00 - 16.00 น. ปิดรับ 15.30 น.
คลีนิคพิเศษวันเสาร์ เปิดให้บริการ 09.00 - 12.00 น. ปิดรับ 11.30 น.
หน่วยสัตว์น้ำโรงพยาบาลสัตว์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน
ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
ตรวจวินิจฉัย และรักษาปลา ทางด้านอายุรกรรมและศัลยกรรม รวมถึงการตรวจคุณภาพน้ำ
โทร 0-2942-8756-59 ต่อ 2118
เวลาทำการ :
วันจันทร์ - พฤหัสบดี เปิดให้บริการ 08.30-15.30 น.
วันศุกร์ เปิดให้บริการ 08.30-11.00 น.
ค่าใช้จ่ายประมาณ 1,500 บาท
ที่มาของภาพ : https://aqua.c1ub.net/
ข อ ฝ า ก ร้ า น ด้ ว ย น ะ ค รั บ
แวะเลือกชมสินค้าราคาโปรโมชั่น พร้อมรับของแถม
และอุปกรณ์ตู้ปลาอื่นๆอีกมากมายได้ที่
ร้ า น บ้ า น ป ล า @ S H O P E E
และอุปกรณ์ตู้ปลาอื่นๆอีกมากมายได้ที่
ร้ า น บ้ า น ป ล า @ S H O P E E
-------------------------------------------------------
ปั๊มออกซิเจน (รุ่น 1 หัว) อุปกรณ์ครบชุด พร้อมใช้งาน ราคา 119 บาท |
ชุดน้ำพุ พร้อมปั๊ม และกระบอกกรอง ราคา 199 บาท |
ปั๊มน้ำตู้ปลา พร้อมกระบอกกรองไมโครทำให้น้ำใส พร้อมเพิ่มออกซิเจนในน้ำ ราคา 169 บาท |