19 มิถุนายน 2561

ขั้นตอนการปรับสภาพบ่อปูนซีเมนต์สำหรับเลี้ยงปลา


โดยทั่วไปแล้ว การก่อสร้างบ่อปลานั้น นิยมใช้การก่อขึ้นรูปปูนซีเมนต์ ซึ่งมีส่วนผสมของซีเมนต์เป็นวัสดุหลัก แต่เนื่องจากปูนซีเมนต์นั้นมีฤทธิ์เป็นด่างสูง ซึ่งเป็นอันตรายหากจะปล่อยปลาลงในทันที แต่เราสามารถปรับสภาพของบ่อปูนซีเมนต์ให้มีความเป็นกลางเพื่อให้สามารถเลี้ยงปลาได้ง่ายๆ โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

1. ลองขังน้ำเพื่อตรวจเช็คให้แน่ใจว่าบ่อไม่มีการรั่วซึม
2. ทำการล้างบ่อให้สะอาดด้วยน้ำจำนวนมาก เพื่อชะล้างเอาเศษปูนออกให้มากที่สุด
3. เต็มน้ำให้เต็มขอบบ่อ แล้วใส่น้ำส้มสายชู โดยมีอัตราส่วน น้ำส้มสายชู 1 ลิตร ต่อ น้ำ 1 ตัน
4. แช่ทิ้งไว้อย่างน้อย 3-5 วัน หรือเพื่อความแน่นอนควรรอประมาณ 7 วัน แล้วถ่ายน้ำออก ในขั้นตอนนี้หากเราสามารถหาต้นกล้วย (เฉพาะลำต้น) หรือผักตบชวา, ดอกจอก สามารถนำมาแช่ร่วมได้
5. ล้างให้สะอาดอีกครั้ง จนไม่ได้กลิ่นของน้ำส้มสายชู แล้วเติมน้ำใหม่ในเต็มขอบบ่ออีกครั้ง แล้วรออย่างน้อย 1 วัน
6. วัดค่า pH โดยให้ค่าอยู่ที่ระหว่าง 6.8-8.5 (เป็นสีเขียว)
7. เพื่อความแน่นอนแนะนำให้ล้างออกแล้วใส่น้ำใหม่อีกครั้ง
8. ก่อนจะลงปลา หากเป็นไปได้ควรนำปลาเหยื่อ หรือปลาขนาดเล็ก มาทดลองปล่อยดูก่อนเพื่อสังเกตุอาการว่ามีอาการผิดปรกติใดๆ โดยถ้าหากค่าปูนยังสูงอยู่ ปลาจะซึม และมีเมือกเกาะรอบตัวคล้ายอาการตัวเปื่อย ให้รีบย้ายปลาออก และแช่น้ำส้มสายชูต่อไป


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น