19 มิถุนายน 2561

อุณหภูมิน้ำสำคัญขนาดไหน



หลายคนคงเคยได้ยินสุภาษิตไทยที่ว่า น้ำร้อนปลาเป็น น้ำเย็นปลาตายกันมาบ้าง เรามาดูกันว่าคำว่าน้ำร้อนน้ำเย็นนั้น ต้องร้อนหรือเย็นแค่ไหนถึงจะเหมาะกับการเลี้ยงปลาสวยงาม

อุณหภูมิที่เหมาะสมในการเลี้ยงปลาสวยงามคืออยู่ระหว่าง 26-27 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นช่วงอุณหภูมิที่ปลาสามารถดำรงค์ชีวิตได้ดี สามารถกินอาหารที่ขับถ่ายได้ดี

โดยทั่วไปแล้วบ้านเราซึ่งเป็นเมืองร้อน อุณหภูมิน้ำมักจะมีการขึ้นลงตามสภาพแวดล้อม คือร้อนมากในช่วงเวลากลางวัน และลดลงในเวลากลางคืน เราจึงควรเลี้ยงปลาในที่ที่มีการถ่ายเทอากาศสะดวก ไม่ร้อน หรืออับลมมากจนเกินไป ไม่ควรตั้งตู้ปลาหรืออ่างปลาให้รับแสงแดดตอนกลางวันโดยตรงเพราะจะทำให้อุณหภูมิยิ่งสูงขึ้นเป็นทวีคูณเกินได้ 

และอีกปัจจัยที่สำคัญที่จะช่วยให้ปลาอยู่ได้อย่างดี คือการติดตั้งปั๊มออกซิเจน หรือปั๊มน้ำ เพื่อช่วยเพิ่มปริมาณออกซิเจนในน้ำ และช่วยเพื่มการหมุนเวียนของน้ำและอุณหภูมิ จะช่วยให้อุณหภูมิของน้ำลดลงได้อีกด้วย 

แต่ถ้าหากมีบางพื้นที่ที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า 25 องศาเซลเซียส อยู่เกือบตลอดเวลา เช่นในภาพเหนือ หรือบนภูเขาสูง ควรใช้ฮีทเอตร์ที่เป็นกระเปาะแก้วเข้ามาช่วยเพิ่มอุณหภูมิครับ

ขั้นตอนการปรับสภาพบ่อปูนซีเมนต์สำหรับเลี้ยงปลา


โดยทั่วไปแล้ว การก่อสร้างบ่อปลานั้น นิยมใช้การก่อขึ้นรูปปูนซีเมนต์ ซึ่งมีส่วนผสมของซีเมนต์เป็นวัสดุหลัก แต่เนื่องจากปูนซีเมนต์นั้นมีฤทธิ์เป็นด่างสูง ซึ่งเป็นอันตรายหากจะปล่อยปลาลงในทันที แต่เราสามารถปรับสภาพของบ่อปูนซีเมนต์ให้มีความเป็นกลางเพื่อให้สามารถเลี้ยงปลาได้ง่ายๆ โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

1. ลองขังน้ำเพื่อตรวจเช็คให้แน่ใจว่าบ่อไม่มีการรั่วซึม
2. ทำการล้างบ่อให้สะอาดด้วยน้ำจำนวนมาก เพื่อชะล้างเอาเศษปูนออกให้มากที่สุด
3. เต็มน้ำให้เต็มขอบบ่อ แล้วใส่น้ำส้มสายชู โดยมีอัตราส่วน น้ำส้มสายชู 1 ลิตร ต่อ น้ำ 1 ตัน
4. แช่ทิ้งไว้อย่างน้อย 3-5 วัน หรือเพื่อความแน่นอนควรรอประมาณ 7 วัน แล้วถ่ายน้ำออก ในขั้นตอนนี้หากเราสามารถหาต้นกล้วย (เฉพาะลำต้น) หรือผักตบชวา, ดอกจอก สามารถนำมาแช่ร่วมได้
5. ล้างให้สะอาดอีกครั้ง จนไม่ได้กลิ่นของน้ำส้มสายชู แล้วเติมน้ำใหม่ในเต็มขอบบ่ออีกครั้ง แล้วรออย่างน้อย 1 วัน
6. วัดค่า pH โดยให้ค่าอยู่ที่ระหว่าง 6.8-8.5 (เป็นสีเขียว)
7. เพื่อความแน่นอนแนะนำให้ล้างออกแล้วใส่น้ำใหม่อีกครั้ง
8. ก่อนจะลงปลา หากเป็นไปได้ควรนำปลาเหยื่อ หรือปลาขนาดเล็ก มาทดลองปล่อยดูก่อนเพื่อสังเกตุอาการว่ามีอาการผิดปรกติใดๆ โดยถ้าหากค่าปูนยังสูงอยู่ ปลาจะซึม และมีเมือกเกาะรอบตัวคล้ายอาการตัวเปื่อย ให้รีบย้ายปลาออก และแช่น้ำส้มสายชูต่อไป

อาหารสูตรเร่งสี เร่งโต


อาหารสูตรเร่งสี เร่งโต

1. อาหารประเภทลอยน้ำที่มีโปรตีนสูง 1 กิโลกรัม
   ( แนะนำอาหารกบ HighGrade สูตรโปรตีน 40%) 
2. สารอาหาร “พิงค์ (Pink)” 5 – 10 กรัม 
3. ไคโตซาน 1 มิลลิลิตร
4. วิตามินรวม 1 กรัม
5. น้ำเปล่า 10 มิลลิลิตร (ประมาณ 10 % ของน้ำหนักอาหาร)
6. น้ำมันสำหรับหมัก 2 มิลลิลิตร

ขั้นตอน นำน้ำเปล่า (5) มาละลาย พิงค์ (2), ไคโตซาน (3) และ วิตามินรวม (4) โดยผสมให้ละลายหมดดี โดยอาจจะใช้น้ำซักครึ่งส่วนก่อนแล้วค่อยๆเติมให้เหมาะสม หลังจากนั้นให้นำมาพรมใส่อาหาร (1) แล้วคลุกไปเรื่อยให้เข้ากันดี แต่ระวังอย่าให้เละ แนะนำให้สวมถุงมือ แล้วคลุกแบบเบามือ จะได้ผลดีกว่าคลุกด้วยช้อน แล้วจึงนำไปผึ่งลมให้แห้งสนิท แต่ไม่ควรนำไปตากแดดเพราะจะทำให้วิตามินรวมเสื่อมคุณภาพ หลังจากนั้นให้นำมาคลุกด้วย น้ำมันสำหรับหมัก (6) แล้วผึ่งลมให้แห้งดีอีกครั้งเป็นอันเสร็จ

เกล็ดฆ่าคลอลีน (ไฮโปร)


เกล็ดฆ่าคลอลีน [ลักษณะและการใช้งาน]
มีลักษณะเป็นเกล็ดสีใส มีคุณสมบัติในการกำจัดคลอลีนในน้ำประปา ปรับสมดุลของน้ำ สามารถละลายในน้ำได้อย่างรวดเร็วและสามารถออกฤทธิ์ได้ทันที โดยมีอัตราส่วนในการใช้คือ ไฮโปร 1 กรัม ต่อน้ำ 300 ลิตร หรือง่ายๆคือใช้ ไฮโปร 1 เกล็ด ต่อน้ำ 10 ลิตร (เป็นอัตราส่วนโดยประมาณ) โดยหลังจากใส่ไฮโปรแล้ว ควรคนน้ำให้เข้ากันเล็กน้อยเพื่อช่วยให้ละลายได้ทั่วถึง หลังจากนั้นรอประมาณ 5 นาทีก็สามารถปล่อยปลาได้เลย

แต่มีข้อพึงระวังว่า ไม่ควรใช้ไฮโปรเป็นประจำที่ต้องการเปลี่ยนน้ำใหม่ เพราะเมื่อไฮโปรทำปฏิกิริยากับคลอลีนในน้ำประปาแล้ว จะเกิดเป็นเกล็ดเกลือ ซึ่งจะทำให้น้ำมีความเค็ม และมีผลโดยตรงกับไตของปลา และจะเข้าไปเคลือบกับเหงือกของปลาทำให้ปลาป่วยได้หากใช้ในระยะยาว ดังนั้น ควรใช้ไฮโปรเป็นครั้งคราวในกรณีฉุกเฉินที่ไม่สามารถพักน้ำได้จริงๆ โดยหากต้องเปลี่ยนน้ำบ่อยๆ แต่ไม่สามารถพักน้ำได้ แนะนำให้ใช้เป็นเครื่องกรองคลอลีนจะดีกว่า

คำเตือน เกล็ดฆ่าคลอลีนเป็นอันตรายต่อมนุษย์ ควรเก็บรักษาให้พ้นมือเด็ก

Photo Credit : Here

ปลาทองหงายท้องทำยังไงดี


ชื่อโรค : ปลาหงายท้อง ( สูญเสียการทรงตัว - ถุงลมอักเสบ )

อาการ : ปลาสูญเสียการทรงตัว ไม่สามารถว่ายได้ตามปรกติ จนถึงขั้น ตีลังกา หงายท้อง

สาเหตุ : อาการปลาสวยงามว่ายหงายท้องมักเป็นอาการที่พบได้บ่อยมากที่สุด โดยเฉพาะมักจะเกิดมากกับปลาทอง หรือปลาที่มีรูปร่างค่อนข้างอ้วนใหญ่ โดยสาเหตุนั้นเกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น

1. การอักเสบหรือติบตันของถุงลมในตัวปลา
2. การอักเสบ , เกิดก๊าซ หรืออาหารไม่ย่อยภายในกระเพาะอาหารของปลา
3. การถูกทำร้าย หรือการกระทบกระแทกอย่างรุนแรง
4. และมักเกิดมากกับปลาที่มีอายุมาก และอยู่ในช่วงสุดท้ายของชีวิตแล้ว

ขั้นตอนการรักษา : ทั้งนี้การที่จะรักษาให้หายนั้นขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ และระยะเวลาที่เป็นมา โดยหากสังเกตเห็นความผิดปกตินี้ตั้งแต่เริ่มแรก คือเริ่มมีอาการว่ายผิดปกติ มีอาการหมุนตัวตีลังกาได้ง่าย แต่ยังสามารถว่ายกลับมาในท่าปกติได้ ก็จะสามารถรักษาได้ง่าย

เนื่องจากปลาที่มีอาการป่วยนี้จะมีสภาพร่างกายอ่อนแอมาก บางตัวไม่สามารถกินอาหารได้เอง จึงควรแยกเขาออกมาเลี้ยงในอ่างพยาบาลตามลำพัง เพื่อสะดวกในการดูแลอาการและเปลี่ยนน้ำ

1. เตรียมอ่างพยาบาลที่มีขนาดไม่ใหญ่มาก โดยพอให้ปลาว่ายได้สะดวก มีปริมาณน้ำที่ไม่ลึกมาก
2. เปิด ปั๊มออกซิเจน เพื่อเพิ่มปริมาณออกซิเจนในน้ำให้เพียงพออยู่เสมอ
3. ใส่ ยาเหลือง เพื่อช่วยลดอาการอักเสบหรืออาการติดเชื้อในตัวปลา
4. ปรับสภาพน้ำด้วยเกลือสมุทรเล็กน้อย โดยใส่ประมาณ 1/2 ช้อนชาต่อน้ำ 2 ลิตร 
5. ในช่วงการรักษาให้งดอาหารทั้งหมด โดยเริ่มให้เล็กน้อยเมื่ออาการทรงตัวมากขึ้น (ปลาสวยงามทั่วไปสามารถงดอาหารได้หลายวัน)
วิธีใช้  ยาเหลืองตัวยาจะมีลักษณะเป็นผง ให้นำมาผสมกับน้ำในขวดแยกต่างหากก่อน โดยน้ำที่ได้จะมีสีเหลืองเข้ม พอผสมลงในภาชนะที่เตรียมน้ำไว้แล้ว สังเกตให้มีสีเหลืองใสพอประมาณ หลังจากนั้นให้สังเกตอาการ และให้ถ่ายน้ำออก 1/3 ทุกๆวัน เพื่อคุณภาพของน้ำที่ดี และอย่าลืมผสมยาเพิ่มในอัตราส่วนที่เหมาะสม

ทั้งนี้หากรักษาแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น หรือทรุดลง อาจจำเป็นที่จะต้องให้สัตว์แพทย์เป็นผู้วิเคราะห์ถึงสาเหตุหรือแนวทางการรักษาโดยละเอียด เช่นทำการเจาะระบายถุงลมให้สมดุล ถึงอย่างไรก็ตามวิธีนี้เหล่านี้ก็ไม่สามารถการันตีว่าปลาจะกลับมาว่ายได้เหมือนเดิม แต่ก็จะช่วยให้คุณภาพชีวิตของปลาดีขึ้น โดยโรงพยาบาลสัตว์ที่รับรักษานั้นมีที่

หน่วยปฏิบัติการวิจัยสัตว์น้ำสวยงามและสัตว์น้ำเพื่อการอนุรักษ์
ตึก 60 ปี ชั้น 2 คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ถนนอังรีดูนังต์ เขตปทุมวัน กรุงเทพ 10330
โทร 02-218-9510 โทรสาร 02-251-8887
เวลาทำการ  :
วันจันทร์ - วันศุกร์    เปิดให้บริการ    09.00 - 16.00 น.  ปิดรับ 15.30 น.
คลีนิคพิเศษวันเสาร์   เปิดให้บริการ    09.00 - 12.00 น.  ปิดรับ 11.30 น.

หน่วยสัตว์น้ำโรงพยาบาลสัตว์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน
ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
ตรวจวินิจฉัย และรักษาปลา ทางด้านอายุรกรรมและศัลยกรรม รวมถึงการตรวจคุณภาพน้ำ
โทร 0-2942-8756-59 ต่อ 2118
เวลาทำการ :
วันจันทร์  - พฤหัสบดี    เปิดให้บริการ 08.30-15.30 น.
วันศุกร์                    เปิดให้บริการ 08.30-11.00 น.

ค่าใช้จ่ายประมาณ 1,500 บาท

ที่มาของภาพ : https://aqua.c1ub.net/

โรคเกล็ดพอง ท้องมาน-ท้องบวม




ชื่อโรค : โรคเกล็ดพอง ท้องมาน-ท้องบวมตัวเปื่อย

อาการ : บริเวณปลายทาง-คลีบ เป็นขุยขาว ลักษณะเปื่อยยุ่ย , ปลามีอาการเซื่องซึม ไม่ว่าย กินอาหารน้อยลง และหลบเข้ามุมซึ่งอาการเริ่มต้นของโรคนี้เป็นอาการที่สังเกตุได้ยาก เพราะในระยะแรกจะเหมือนกับปลาอ้วนถ้วนสมบูรณ์ดี แต่ก็มีหลักในการมองง่ายๆคือให้สังเกตุที่เกล็ดของปลา เพราะโดยปรกติแล้วปลาสุขภาพดีจะมีเกล็ดที่เรียงกันอย่างสม่ำเสมอ เป็นระเบียบ และจะต้องปกคลุมผิวหนังของปลาได้หมด แต่ถ้าเกล็ดเริ่มถ่างออก ไม่เป็นระเบียบ มีระยะห่างระหว่างเกล็ดมากขึ้น หรือมองเห็นผิวหนังของปลาได้ แสดงว่าปลาเริ่มป่วยแล้ว นอกจากนั้นมีอาการอื่นๆอีกเช่น อ้วนขึ้นอย่างรวดเร็ว ว่ายไม่ตรง จมลงก้นตู้บ่อยครั้ง ไม่ว่ายน้ำ เซื่องซึม และกินได้น้อยลง เป็นต้น

สาเหตุ : สำหรับสาเหตุนั้นสันนิฐานว่าเกิดจากการติดเชื้อไวรัสและแบททีเรียในน้ำ เนื่องมาจากการให้อาหารมากเกินไป และดูแลคุณภาพน้ำได้ไม่ดี ปล่อยให้ปลาอยู่ในน้ำที่เน่าเสียเป็นเวลานาน จนทำให้เกิดการติดเชื้อในลำไส้ของปลา หรือบางกรณีที่ใส่เกลือในน้ำมากจนเกินไป ส่งผลโดยตรงต่อไตของปลา ทำให้เกิดการบวมน้ำ จนท้องบวมขึ้นมาได้ 

ขั้นตอนการรักษา

1. เตรียมน้ำ (ที่พักไว้แล้ว) ในภาชนะแยก เพื่อความสะดวกแนะนำให้ใช้กาละมัง ปริมาณพอสมควร โดยให้ระดับน้ำสูงกว่าตัวปลานิดหน่อย เพื่อลดความดัน ในกรณีที่ปลาเริ่มว่ายไม่สะดวก
2. เตรียม ปั๊มออกซิเจน ช่วงที่ปลารักษาตัว อ็อกซิเจนสำคัญมาก ควรเปิดให้แรงกว่าปรกติ แต่ต้องระวังไม่ให้กระทบกับตัวปลา
3. ปรับสภาพน้ำด้วยเกลือสมุทรเล็กน้อย โดยใส่ประมาณ 1/2 ช้อนชาต่อน้ำ 2 ลิตร 
4. การเตรียมยา เราสามารถใช้ยาได้ 2 ประเภท คือยาที่ใช้รักษาปลาโดยตรง กับยาฆ่าปฏิชีวนะสำหรับคน ซึ่งทั้งสองแบบจะมีตัวยาที่มีสรรพคุณคล้ายคลึงกัน แต่ยารักษาปลาโดยตรงนั้นจะมีสูตรที่ทำให้ละลายน้ำได้ดี และไม่มีส่วนประกอบอื่นๆที่ไม่จำเป็นในการรักษาปลา เพื่อลดปัญหาการเน่าเสียของน้ำ แต่ถ้าหากไม่สามารถหาได้ในเวลาที่จำเป็นที่ต้องใช้งาน การใช้ยาปฏิชีวนะที่ใช้ในคนก็เป็นการเลือกหนึ่ง

การใช้ยาสำหรับรักษาปลาโดยตรง ใช้ยาชื่อ ยาเหลือง ตัวยาจะมีลักษณะเป็นผง ให้นำมาผสมกับน้ำในขวดแยกต่างหากก่อน โดยน้ำที่ได้จะมีสีเหลืองเข้ม พอผสมลงในภาชนะที่เตรียมน้ำไว้แล้ว สังเกตให้มีสีเหลืองใสพอประมาณ หลังจากนั้นให้สังเกตอาการ และให้ถ่ายน้ำออก 1/3 ทุกๆวัน เพื่อคุณภาพของน้ำที่ดี และอย่าลืมผสมยาเพิ่มในอัตราส่วนที่เหมาะสม

การใช้ยาปฏิชีวนะที่ใช้กับคน ใช้ยาชื่อ Oxolinic Acid (ออคโอลินิค แอซิด) หรือถ้าหาไม่ได้ให้ใช้ Amoxicillin (อะม็อกซี่ซิลิน) แทนก็ได้ สามารถหาซื้อได้จากร้านขายยาทั่วไป โดยใช้อัตราส่วนตัวยา 30 มิลลิกรัม ต่อ น้ำ 1 ลิตร โดยตอนซื้อให้สอบถามกับทางเภสัชกรว่าใน 1 แคปซูลมีตัวยากี่มิลลิกรัม โดยให้นำตัวยาที่เป็นผงออกจากแคปซูล มาผสมกับน้ำให้ละลายดีก่อนแล้วจึงใส่ในภาชนะที่เตรียมน้ำไว้แล้ว หลังจากนั้นให้สังเกตอาการ และให้ถ่ายน้ำออกครึ่งนึงทุกๆ 2 วัน เพื่อคุณภาพของน้ำที่ดี และอย่าลืมผสมยาเพิ่มในอัตราส่วนที่เหมาะสม

การนำยาผสมกับอาหารปลา การเป็นวิธีการรักษาอีกแบบ ซึ่งให้ผลค่อนข้างดี เพราะปลาจะได้รับยาโดยตรง แต่เหมาะกับปลาที่ยังกินอาหารได้ดีอยู่ ขั้นตอนคือให้นำยา 1 แคปซูลมาแกะเอาแต่ผงยา แล้วผสมกับน้ำเล็กน้อยให้ละลายหมด นำน้ำยาที่ได้มาผสมกับอาหารปลา โดยกะปริมาณว่ายา 1 แคปซูลต่ออาหารที่ปลาจะกินหมดใน 3 วัน หลังจากคลุกเคล้าให้เข้ากันดีแล้ว ให้นำไปตากลมให้แห้งดี แล้วจึงนำมาให้ปลากิน โดยแบ่งให้วันละ 2 มื้อ เช้า-เย็นในปริมาณที่ไม่มากนัก โดยสังเกตให้ปลากินหมดให้เราเห็น ถ้าเหลือลอยอยู่ก็ให้ช้อนออกเพื่อกันน้ำเสีย

ในระหว่างที่ปลาอยู่ระหว่างการรักษาและพักฟื้นนั้น ปลาจะกินอาหารน้อยลงมาก ควรงดหรือให้อาหารในปริมาณที่น้อยกว่าปรกติ อย่าให้เหลือลอยคาอยู่ในอ่าง เพื่อลดปัญหาน้ำเน่าเสีย ดูแลอุณหภูมิน้่ำที่คงที่และไม่เย็นจนเกินไปก็เป็นปัจจัยที่สำคัญ เราควรที่จะนำอ่างพักปลามาให้โดนแดดในตอนเช้าบ้าง เพื่อกระตุ้นกระบวนการรักษาของตัวปลาให้ดีมากยิ่งขึ้น แต่ต้องระวังอย่าให้น้ำร้อนเกินไปด้วย และอย่าลืมเตรียมพักน้ำไว้ล่วงหน้าให้มีปริมาณที่เพียงพออยู่เสมอ
 


ที่มาของภาพ
ขอบคุณคุณ roanglex จาก https://aqua.c1ub.net/

อ่างพยาบาล สิ่งจำเป็นสำหรับปลาป่วย


สำหรับการรักษาปลาป่วยนั้น สิ่งที่จำเป็นมากๆคือการแยกปลาออกมาอยู่ในอ่างหรือภาชนะต่างหาก ซึ่งมีข้อดีดังต่อไปนี้

1. เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปยังปลาตัวอื่นๆในตู้หรือบ่อเดิม
2. ยังช่วยให้เราสามารถควบคุมปริมาณยาที่ใช้ได้เป็นอย่างเหมาะสม
3. ป้องการปลาจากการถูกทำร้ายจากปลาตัวอื่น
4. สามารถเปลี่ยนน้ำได้อย่างง่ายและรวดเร็ว

ขั้นตอนการเตรียมอ่างพยาบาล
                1. เตรียมอ่างหรือกาละมัง ในขนาดที่เหมาะสม โดยให้ปลาสามารถว่ายได้อย่างไม่อึดอัด โดยควรใส่น้ำให้สูงกว่าตัวปลาเล็กน้อย 
                2. ใส่น้ำที่ทำการพักคลอลีนไว้แล้ว
                3. เปิด ปั๊มออกซิเจน ไว้ตลอดเวลา
                4. เตรียมน้ำสำรองไว้ล่วงหน้า เพราะช่วงพยาบาลจำเป็นต้องเปลี่ยนน้ำบ่อยๆ
                5. การผสมยา หากเป็นยาปฏิชีวนะ ควรมีแก้วสำหรับผสม
                6. หลังใช้อ่างเสร็จแล้ว ควรแช่อ่าง และอุปกรณ์ต่างๆด้วยเกลือหรือด่างทับทิมเข้มข้นเพื่อป้องการการติดเชื้อจากอุปกรณ์      

ข้อควรระวัง : ควรตั้งอ่างพยาบาลในจุดที่เหมาะสม ปลอดภัยจากสัตว์อื่นในบ้านเช่นแมวหรือสุนัข และควรหลีกเลี่ยงไม่ให้โดนแดดจัด หรือจัดที่อับลม เพราะจะส่งผลให้อุณหภูมิน้ำสูงเกินไปได้

การเปลี่ยนน้ำในระหว่างการรักษา
    เนื่องจากในช่วงที่ปลารักษาตัวอยู่นั้น จะมีการขับเมือกออกมาตามธรรมชาติ จึงทำให้น้ำเสียได้ง่าย  โดยสังเกตุไดจากกลิ่น ความใสของน้ำ และฟองสะสมบริเวณผิวน้ำ เราจึงควรถ่ายน้ำเดิมออกบ้าง ด้วยการตักน้ำเดิมออกบางส่วน และใส่น้ำใหม่ที่พักไว้แล้วลงในอ่างแทน และต้องไม่ลืมเติมยาลงไปในปริมาณที่เหมาะสมด้วย

27 กุมภาพันธ์ 2561

วิธีรักษาโรคตัวเปื่อย



ชื่อโรค : โรคตัวเปื่อย

อาการ : บริเวณปลายทาง-คลีบ เป็นขุยขาว ลักษณะเปื่อยยุ่ย , ปลามีอาการเซื่องซึม ไม่ว่าย กินอาหารน้อยลง และหลบเข้ามุม

สาเหตุ : น้ำสกปรกหมักหมมเป็นเวลานาน, ติดเชื้อจากตัวอื่นที่เป็นอยู่ก่อน

ขั้นตอนการรักษา : 
1. เตรียมน้ำ (ที่พักไว้แล้ว) ในภาชนะแยก เพื่อความสะดวกแนะนำให้ใช้กาละมัง ปริมาณพอสมควร โดยให้ระดับน้ำสูงกว่าตัวปลานิดหน่อย เพื่อลดความดัน ในกรณีที่ปลาเริ่มว่ายไม่สะดวก
2. เตรียม ปั๊มออกซิเจน ช่วงที่ปลารักษาตัว อ็อกซิเจนสำคัญมาก ควรเปิดให้แรงกว่าปรกติ แต่ต้องระวังไม่ให้กระทบกับตัวปลา
3. ปรับสภาพน้ำด้วยเกลือสมุทรเล็กน้อย โดยใส่ประมาณ 1/2 ช้อนชาต่อน้ำ 2 ลิตร 
4. การเตรียมยา เราสามารถใช้ยาได้ 2 ประเภท คือยาที่ใช้รักษาปลาโดยตรง กับยาฆ่าปฏิชีวนะสำหรับคน ซึ่งทั้งสองแบบจะมีตัวยาที่มีสรรพคุณคล้ายคลึงกัน แต่ยารักษาปลาโดยตรงนั้นจะมีสูตรที่ทำให้ละลายน้ำได้ดี และไม่มีส่วนประกอบอื่นๆที่ไม่จำเป็นในการรักษาปลา เพื่อลดปัญหาการเน่าเสียของน้ำ แต่ถ้าหากไม่สามารถหาได้ในเวลาที่จำเป็นที่ต้องใช้งาน การใช้ยาปฏิชีวนะที่ใช้ในคนก็เป็นการเลือกหนึ่ง

การใช้ยาสำหรับรักษาปลาโดยตรง ใช้ยาชื่อ ยาเหลือง ตัวยาจะมีลักษณะเป็นผง ให้นำมาผสมกับน้ำในขวดแยกต่างหากก่อน โดยน้ำที่ได้จะมีสีเหลืองเข้ม พอผสมลงในภาชนะที่เตรียมน้ำไว้แล้ว สังเกตให้มีสีเหลืองใสพอประมาณ หลังจากนั้นให้สังเกตอาการ และให้ถ่ายน้ำออก 1/3 ทุกๆวัน เพื่อคุณภาพของน้ำที่ดี และอย่าลืมผสมยาเพิ่มในอัตราส่วนที่เหมาะสม

การใช้ยาปฏิชีวนะที่ใช้กับคน ใช้ยาชื่อ "เตตราซัยคลิน" (ยาฆ่าเชื้อ,ยาแก้อักเสบ) สามารถหาซื้อได้จากร้านขายยาทั่วไป โดยใช้อัตราส่วนตัวยา 30 มิลลิกรัม ต่อ น้ำ 1 ลิตร โดยตอนซื้อให้สอบถามกับทางเภสัชกรว่าใน 1 แคปซูลมีตัวยากี่มิลลิกรัม โดยให้นำตัวยาที่เป็นผงออกจากแคปซูล มาผสมกับน้ำให้ละลายดีก่อนแล้วจึงใส่ในภาชนะที่เตรียมน้ำไว้แล้ว หลังจากนั้นให้สังเกตอาการ และให้ถ่ายน้ำออกครึ่งนึงทุกๆ 2 วัน เพื่อคุณภาพของน้ำที่ดี และอย่าลืมผสมยาเพิ่มในอัตราส่วนที่เหมาะสม

การนำยาผสมกับอาหารปลา การเป็นวิธีการรักษาอีกแบบ ซึ่งให้ผลค่อนข้างดี เพราะปลาจะได้รับยาโดยตรง แต่เหมาะกับปลาที่ยังกินอาหารได้ดีอยู่ ขั้นตอนคือให้นำยา 1 แคปซูลมาแกะเอาแต่ผงยา แล้วผสมกับน้ำเล็กน้อยให้ละลายหมด นำน้ำยาที่ได้มาผสมกับอาหารปลา โดยกะปริมาณว่ายา 1 แคปซูลต่ออาหารที่ปลาจะกินหมดใน 3 วัน หลังจากคลุกเคล้าให้เข้ากันดีแล้ว ให้นำไปตากลมให้แห้งดี แล้วจึงนำมาให้ปลากิน โดยแบ่งให้วันละ 2 มื้อ เช้า-เย็นในปริมาณที่ไม่มากนัก โดยสังเกตให้ปลากินหมดให้เราเห็น ถ้าเหลือลอยอยู่ก็ให้ช้อนออกเพื่อกันน้ำเสีย

ในระหว่างที่ปลาอยู่ระหว่างการรักษาและพักฟื้นนั้น ปลาจะกินอาหารน้อยลงมาก ควรงดหรือให้อาหารในปริมาณที่น้อยกว่าปรกติ อย่าให้เหลือลอยคาอยู่ในอ่าง เพื่อลดปัญหาน้ำเน่าเสีย ดูแลอุณหภูมิน้่ำที่คงที่และไม่เย็นจนเกินไปก็เป็นปัจจัยที่สำคัญ เราควรที่จะนำอ่างพักปลามาให้โดนแดดในตอนเช้าบ้าง เพื่อกระตุ้นกระบวนการรักษาของตัวปลาให้ดีมากยิ่งขึ้น แต่ต้องระวังอย่าให้น้ำร้อนเกินไปด้วย และอย่าลืมเตรียมพักน้ำไว้ล่วงหน้าให้มีปริมาณที่เพียงพออยู่เสมอ
 
( Photo credit : here )

30 กรกฎาคม 2556

วิธีการให้อาหารปลาสวยงามที่ถูกวิธี



สรุปสั้นๆ 
1. ต้องรู้ก่อนว่าปลาที่เราเลี้ยงกินอาหารแบบไหน สามารถให้อาหารปลาทั่วไปได้ไหม 
2. ปลาสวยงามส่วนใหญ่ สามารถให้อาหารเม็ด(ลอย) ได้เลย
3. อาหารควรให้วันละ 2 ครั้ง โดยแบ่งเป็นมื้อหลัก (ตอนเช้า) กับมื้อรอง (ตอนเย็น)
4. มื้อหลัก ให้เยอะกว่า มื้อรอง
5. อาหาร(เม็ด) ทุกมื้อที่ให้ควรให้ปลากินหมดภายใน 5 นาที ไม่ควรปล่อยให้เหลือลอย
6. ปลาสวยงาม อดอาหารได้ต่อเนื่องได้หลายวัน แต่ก็ไม่ควรอดบ่อย

-----------------------------------------------------------

คราวนี้จะขอต่อยอด จากที่เคยเล่าให้ฟังถึงสาเหตุที่ปลาตายเพราะให้อาหารมากเกินไปนั้น คราวนี้จะมาพูดถึงวิธีการให้อาหารปลาที่ถูกวิธีกันครับ แต่เนื่องจากปลาสวยงามที่หลายกลุ่ม หลายประเภทมาก มีทั้งกินอาหารเม็ด ไปจนถึงกินพวกสิ่งมีชีวิต ซึ่งวิธีการให้อาหารก็มีหลากหลายแบบตามไปด้วย

ผมเลยขอให้ข้อมูลเกี่ยวกับปลาสวยงามทั่วไปที่เป็นที่นิยมเลี้ยง และกินอาหารเม็ดสำเร็จรูป อย่าง ปลาเงิน ปลาทอง ปลารักเร่ ปลาสอด ปลาบอลลูน ปลาเทวดา ปลาหางนกยูง รวมไปจนถึงปลาคราฟแล้วกันนะครับ

ก่อนอื่นเลย อาหารเม็ดตามท้องตลาดก็มีหลากหลายยี่ห้อ หลายจุดเด่น อย่างอาหารปลาซากุระ อาหารปลาซีพี อาหารปลาโตคิว ฯลฯ แต่ในแต่ละยี่ห้อ ก็มีหลากหลายชนิดที่เหมาะกันปลาแต่ละประเภท แต่ละขนาด ให้เราเลือก วิธีง่ายๆว่าควรซื้อแบบไหน หรือสอบถามจากผู้ขายปลาโดยตรงเลยครับ ว่ามันกินอะไร และอย่าลืมถามด้วยนะครับ ว่าควรให้เม็ดขนาดไหน เพราะในอาหารปลารุ่นเดียวกัน ก็มีหลากหลายขนาดของเม็ดอีก ทั้งเม็ดจิ๋ว เม็ดเล็ก ไปจนถึงเม็ดใหญ่ๆ

จากประสบการณ์ที่เลี้ยงและขายปลามามากกว่าสิบปีนั้น ผมมั่นใจว่า เราควรให้อาหารปลาไม่เกิน 2 มื้อต่อวันเท่านั้นครับ และควรดูให้มันกินให้หมดภายในเวลาประมาณ 5 นาทีด้วย โดยถ้าเหลือก็ให้ช้อนทิ้งไปครับ การให้อาหารปลาที่เยอะเกินความจำเป็นนั้น นอกจากจะทำให้น้ำเน่าเสียง่ายแล้ว ยังทำให้ปลาท้องอืดตายได้อีกด้วยครับ แต่สิ่งที่เรามองไม่เห็นที่มากับอาหารปลาคือเกลือครับ ในอาหารปลาจะมีเกลือผสมมาด้วยเล็กน้อย การที่ให้อาหารปลาเหลือลอยเยอะๆในตู้นั้น จะส่งผลให้น้ำเน่าเสีย และปลาเจ็บป่วยได้ง่ายอีกด้วยครับ

สำหรับช่วงเวลาที่เหมาะสมที่จะให้อาหารปลา ของแบ่งเป็น 2 ช่วงเวลา คือ

1. มื้อหลัก ควรให้ช่วงเช้าถึงสายๆ โดยให้ในปริมาณปรกติที่ปลาสามารถกินจนหมดได้ในเวลาประมาณ 5 นาที
2. มื้อรอง ควรเป็นเวลาช่วงเย็น ก่อนพระอาทิตย์ตกดิน โดยให้ในปริมาณครึ่งนึงของมื้อหลัก และปลาจะต้องกินหมดในเวลา 5 นาทีเช่นกัน

และช่วงที่ไม่เหมาะจะให้อาหารปลาเลย คือช่วงกลางคืน เพราะถ้าเกิดเราให้อาหารปลาแล้วปิดไฟเข้านอน ปลาก็จะเข้านอนตามไปด้วย ซึ่งอาจจะส่งผลให้อาหารในท้องที่เพิ่งกินเข้าไปนั้นอืด จนปลามีปัญหาเรื่องระบบขับถ่าย และทำให้ตายในที่สุดได้ครับ

สำหรับปลาที่เราให้อาหารเม็ดอยู่เป็นประจำ เราควรสลับให้เป็นพวกของสดบ้าง อย่างไรแดง ไรทะเล ลูกน้ำ หรือกลุ่มจำพวกพืชอย่างสาหร่าย ดอกจอก บ้าง เพื่อให้ปลามีสุขภาพดี และมีสีสรรที่สวยงามมากยิ่งขึ้นครับ

อาหารปลาโตคิว 20 กรัม ห่อละ 10 บาท

Photo Credit : Here

11 กรกฎาคม 2556

วิธีซ่อมตู้ปลาที่แตกร้าวด้วยกาวซีลีโคน


วิธีซ่อมตู้ปลาที่แตกร้าวด้วยกาวซีลีโคน

ก่อนอื่นของแนะนำให้รู้จักกับกาวซีลีโคนก่อนนะครับ โดยกาวซีลีโคนที่วางขายทั่วไปตามท้องตลาด จะมีสองแบบนะครับ คือแบบหลอด กับแบบแท่ง แบบหลอดจะไปหลอดคล้ายๆหลอดกาวยาง และสำหรับแบบแท่ง จะเป็นแท่งทรงกระบอกยาวประมาณฟุตกว่าๆ 
ต้องใช้ร่วมกับที่บีบ โดยแบบแท่งนั้นจะเน้นใช้เป็นอุตสาหกรรมมากกว่าครับ เพราะมีปริมาณมาก สำหรับการซ่อมแซมตู้ปลาตามบ้านเรือนนั้น ของแนะนำเป็นแบบหลอดแทนนะครับ สำหรับเนื้อซีลีโคนพอบีบออกมาจากหลอดแล้ว จะมีลักษณะขาวขุ่น เหนียวข้น ทิ้งไว้ในอุณหภูมิห้องซักพักจะแข็งตัว เวลาใช้งานต้องวางแผนให้ดีเพื่อทำงานของเราเสร็จก่อนที่กาวจะแข็งตัวนะครับ

ที่นี้เรามาวิเคราะห์ตู้ที่มีปัญหาก่อนนะครับ ว่าจะสามารถซ่อมแซมได้ไหม ลักษณะที่ผมแนะนำว่าพอจะซ่อมได้คือ

1. มีปัญหาการซึมของน้ำโดยไม่พบรอยแตกร้าว

ปัญหานี้มักจะเกิดขึ้นมามุมของตู้ซึ่งเป็นรอยเชื่อมต่อของซิลิโคนครับ โดยขั้นแรกเราต้องหาให้ได้ก่อนว่ารั่วบริเวณจุดไหน วิธีง่ายๆคือเช็ดบริเวณภายนอกตู้ให้แห้งสนิทดีแล้ว ใช้กระดาษหนังสือพิมพ์มาแปะไว้บริเวณที่้เราสงสัยว่าจะรั่ว เราจะเห็นรอยซึมของน้ำบนกระดาษหนังสือพิมพ์ได้อย่างชัดเจนครับ ซึ่งจุดนั้นๆจะเป็นจุดรั่วซึม

วิธีการคือ ในเราตากตู้ให้แห้งประมาณ 1 วันเป็นอย่างน้อยครับ ถ้าผิวกระจกของตู้มีคราบตะไคร่หรือสิ่งสกปรกต่างๆ ก็ให้ทำความสะอาดให้ดีก่อน พอแห้งดีแล้ว ก็ใช้ซีลีโคนทาซ้ำลงไปบริเวณที่่รั่ว โดยให้เกินรอยซิลิโคนเดิมออกมาซักเล็กน้อย เราอาจใช้ไม้เล็กๆ อย่างไม้ไอศครีม ตกแต่งกาวในเรียบร้อยมากขึ้น ทิ้งไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง และทาซ้ำซักสองสามรอบ เพื่อความแน่ใจ แต่ไม่ควรบีบกาวให้เป็นชั้นหนามากเกินไปนะครับ เพราะจะเป็นการถ่วงน้ำหนักให้กาวหลุดล่อนได้ง่ายมากขึ้น และที่สำคัญ พอทากาวเสร็จแล้ว ควรทิ้งไว้ให้กาวเซทตัวและแห้ง ประมาณ 1 วันนะครับ แล้วถึงจะใส่น้ำได้

2. มีรอยแตกร้าว บริเวณมุมๆ ขอบๆ ไม่ใหญ่มาก

วิธีการคือ ในเราตากตู้ให้แห้งประมาณ 1 วันเป็นอย่างน้อยครับ ถ้าผิวกระจกของตู้มีคราบตะไคร่หรือสิ่งสกปรกต่างๆ ก็ให้ทำความสะอาดให้ดีก่อน พอแห้งดีแล้ว ก็ใช้ซีลีโคนทาลงไปบริเวณที่่รั่ว โดยให้ลากซิลิโคนเป็นเส้นทับรอยแตกก่อน และทิ้งไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง หลังจากนั้นค่อยทากาวกว้างคลุมรอยแตกทั้งหมด และทิ้งไว้อีก 1 ชั่วโมง และทาซ้ำซักสองสามรอบ เพื่อความแน่ใจ แต่ไม่ควรบีบกาวให้เป็นชั้นหนามากเกินไปนะครับ เพราะจะเป็นการถ่วงน้ำหนักให้กาวหลุดล่อนได้ง่ายมากขึ้น และที่สำคัญ พอทากาวเสร็จแล้ว ควรทิ้งไว้ให้กาวเซทตัวและแห้ง ประมาณ 1 วันนะครับ แล้วถึงจะใส่น้ำได้

3. มีรอยแตกยาวบริเวณพื้น หรือรอยแตกยาวเป็นเส้น

วิธีการก็เหมือนกันกับข้ออื่นๆครับ แต่เราอาจจะให้กระจกมาช่วยปะ โดยหากระจกที่ปิดรอยได้มิด แล้วใช้ซีลีโคนทาให้ทั่ว แล้วติดลงไปบนรอยแตก แล้วใช้ซีลีโคนยาให้ทั่วขอบของกระจกอีกที แต่วิธีนี้อาจจะใช้ได้แค่ชั่วคราวนะครับ เพราะกระจกมันแตกไปแล้ว ยังไงก็ไม่สามารถซ่อมแซมให้สามารถใช้งานได้เหมือนเดิม ไม่นานก็จะมีน้ำรั่วซึมออกมาอยู่ดี ทางที่ดีควรหาทางเปลี่ยนตู้ใบใหม่เลยจะดีที่สุดครับ

ซีลีโคนนี้ ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการซ่อมแซมท่อประปาได้อีกด้วยนะครับ แต่กรณีที่ใช้ไม่หมดในครั้งเดียว ให้ปิดฝาให้แน่น และแช่ตู้เย็นได้จะช่วยยืดอายุให้สามารถนำกลับมาใช้ได้อีกครับ