01 กรกฎาคม 2556

วิธีการเตรียมน้ำสำหรับเลี้ยงปลาสวยงาม



การเตรียมน้ำสำหรับเลี้ยงปลาสวยงาม

สำหรับการเตรียมน้ำเลี้ยงปลาสำหรับปลาน้ำจืดทั่วไปนั้น สำหรับคนเมืองแบบเราๆอาจจะสะดวกสบายเป็นพิเศษซักหน่อย เพราะแค่เปิดก๊อกก็ได้น้ำที่บริสุทธิ์ สะอาด และผ่านการฆ่าเชื้อโรคมาอย่างดี แต่แน่นอนว่าสิ่งที่ตามมากับน้ำประปาก็คือ "คลอลีน" ซึ่งก็คือยาฆ่าเชื้อแบบหนึ่ง ที่ช่วยในการฆ่าเชื้อโรคต่างๆในน้ำให้สะอาดจนเราสามารถบริโภคได้ คอลลีนนั้นถูกควบคุมให้อยู่ในปริมาณที่ไม่เป็นอันตรายกับมนุษย์ แต่ไม่ใช่กับปลา

สำหรับผลของคอลลีนที่มีอยู่ในน้ำประปาที่มีผลกับปลานั้น เริ่มตั้งแต่ การทำให้ซื่งซึม ทำลายการทำงานของเหงือก ที่เปรียบเสมือนจมูกของปลา ทำให้ปลาหายใจลำบาก ไม่สามารถกรองอ๊อกซิเจนในน้ำเข้าสู่ตัวปลาได้ และส่วนมากปลาหลายชนิดจะตายเพราะอาการแพ้คอลลีน

วิธีที่ง่ายที่สุดในการกำจัดคลอลีนในน้ำประปา คือการเปิดน้ำใส่ภาชนะใดๆทิ้งไปไว้ก่อนที่เราจะนำไปใส่ตู้หรืออ่างปลา โดยควรเปิดทิ้งไว้อย่างน้อย 1 - 2 วันเป็นอย่างต่ำ ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายและได้ผลมาก แต่แน่นอนว่าจะมีปัญหาแน่นอนกับคนที่มีผู้ปลาขนาดใหญ่มากๆ หรือบ่อปลาขนาดใหญ่ เพราะไม่สามารถหาภาชนะมาสำรองน้ำเพื่อพักน้ำได้ สำหรับคนที่มีข้อจำกัดเรื่องการพักน้ำนั้นทางร้านมีผลิตภัณฑ์สำหรับกำจัดคลอลลีน โดยใส่เพียงเล็กน้อยก็สามารถปล่อยปลาได้เลย ซึ่งถือว่าสะดวกและปลอดภัยกับปลา โดยสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่กลุ่ม " ยารักษา ปรับสภาพน้ำ " ครับ

หลังจากเราได้น้ำที่บริสุทธิ์สะอาด ปราศจากคลอลีนแล้ว เราอาจจะเพิ่มเติมด้วยกลุ่มน้ำยาฆ่าเชื้อ ปรับสภาพน้ำ อีกเล็กน้อยเพื่อปรับค่า pH ของน้ำให้เหมาะสมได้อีกด้วยครับ


การเปลี่ยนน้ำ และขั้นตอนการเปลี่ยนน้ำ


ถ้าถามว่าเราควรเปลี่ยนน้ำในตู้ปลาบ่อยแค่ไหน คำตอบคือ ยิ่งนานก็ยิ่งดีครับ เพราะการเปลี่ยนน้ำบ่อยๆนั้น ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสภาวะแวดล้อมของปลาอย่างรวดเร็ว บางครั้งการเตรียมการที่ไม่ดีพอ อาจจะส่งผลให้ปลาดีๆของเราตายลงได้จากการเปลี่ยนน้ำครับ

เราควรเปลี่ยนน้ำเมื่อเราสังเกตุเห็นว่าคุณภาพของน้ำในตู้หรือบ่อของเราเปลี่ยนสี มีลักษณะขุ่น ไม่ใส มีฟองจับบริเวณขอบน้ำ หรือมีกลิ่นที่เปลี่ยนไป โดยอาจสังเกตุว่าปลาสวยงามที่เราเลี้ยงนั้น ขึ้นมาว่ายบริเวณผิวน้ำบ่อยๆ นั้นเป็นสัญญาณที่แสดงให้เห็นว่า ปริมาณอ๊อกซิเจนในน้ำไม่เพียงพอเสียแล้วครับ


สำหรับขั้นตอนการเปลี่ยนน้ำ มีกระบวนการพื้นฐานดังต่อไปนี้

        1. เราควรเริ่มจากการเตรียมน้ำที่จะนำมาเลี้ยงปลาก่อนครับ โดยรองน้ำใส่ถัง หรือภาชนะสะอาด แล้วทิ้งไว้ซัก 2-3 วัน เพื่อลดคลอลีนในน้ำ แต่สำหรับผู้ที่เลี้ยงปลาในบ่อหรือตู้ขนาดใหญ่ ไม่สามารถหาที่พักน้ำได้ ก็สามารถใช้น้ำยาฆ่าคลอลีนเพื่อข้ามขั้นตอนนี้ไปได้ครับ และที่ขาดไม่ได้ คืออย่าลืมเตรียมน้ำใส่ภาชนะไว้ต่างหากตอนพักปลา ในขณะที่เราล้างตู้ด้วยนะครับ

        2. กระบวนการย้ายปลาออกจากตู้หรือบ่อ กระบวนการนี้ควรใช้อุปกรณ์อย่างกระชอน หรือสวิงที่มีขนาดเหมาะสมกับตัวปลา ไม่ใหญ่หรือเล็กจนเกินไป โดยในขั้นตอนนี้เราสามารถลดปริมาณน้ำในตู้ลงเพื่อช่วยจำกัดวงล้อม กระชับพื้นที่ ^.^ ของปลา เพื่อให้จับได้ง่ายขึ้น โดยเมื่อย้ายปลาลงมายังภาชนะที่เราใช้พักปลาแล้ว เราต้องระวังเรื่องปลากระโดดตกลงมาจากอ่างด้วยนะครับ เพราะในช่วงขณะนั้น ปลาจะค่อนข้างตื่นตกใจ อาจจะมีพฤติกรรมแปลกๆที่เราไม่คาดคิด ควรหาอะไรมาบังไว้ซักนิด และที่สำคัญ อย่าลืมเปิดเครื่องปั๊มอ๊อกซิเจนให้มันด้วยนะครับ

        3. กระบวนการล้างทำความสะอาด ก็เหมือนกันการล้างทั่วไป เพียงแต่เราควรใช้น้ำเปล่าเพียงอย่างเดียว และอาจจะใช้เกลือป่นร่วมด้วยในการฆ่าเชื้อโรค แต่ควรระวังเรื่องการล้างสิ่งสกปรกตกค้างออกให้เรียบร้อย ส่วนพวกใยกรอง ถ้าเป็นไปได้ก็ควรเปลี่ยนใหม่ไปเลยครับ

        4. กระบวนการจัดตู้กลับคืน โดยในขั้นตอนนี้ควรจัดองค์ประกอบต่างๆในตู้ให้เรียบร้อยก่อน แล้วค่อยเต็มน้ำอย่างช้าๆตามลงไป หลังจากนั้นให้เปิดระบบปั๊มต่างๆ และทิ้งไว้ประมาณ 1-2 ชั่วโมง ให้น้ำนิ่ง และตกตะกอนดี ถึงค่อยย้ายปลาคืนครับ

  เกร็ดความรู้ ในช่วงที่กำลังเราล้างตู้ปลา หรือหลังย้ายปลากลับเข้าตู้ใหม่ๆ เราไม่ควรให้อาหารปลานะครับ หรือถ้าถึงมื้อที่ต้องให้จริงๆ ก็ควรให้ในประมาณน้อยๆ เพราะช่วงนั้นปลาจะตื่นตกใจ อาจจะทำให้ปลาช๊อคได้ และแน่นอนว่าไม่ควรย้ายปลาหลังจากที่มันเพิ่งกินอาหารเสร็จใหม่ๆนะครับ ควรรอให้อาหารย่อย เข้าที่เข้าทางซักประมาณ 2-3 ชั่วโมงถึงค่อยทำ

สำหรับผู้ที่เลี้ยงปลาตู้ เราควรหมั่นตรวจเช็คดูรอยรั่วซึม บริเวณรอยต่อกระจกไม่ว่าจะเป็นตู้ปลาแบบเก่า หรือแบบใหม่ เพราะมักพบว่ามีรอยรั่วซึมของน้ำอยู่เสมอ สาเหตุเกิดจากชันหรือกาวซิลิโคนเริ่มเสื่อมคุณภาพ หรือบริเวณที่ติดตั้งตู้ปลาได้รับแสงแดดและความร้อนจัด หรือเกิดจากการกระทบกระแทกกับวัตถุอื่น ๆ จึงควรระมัดระวัง แต่ถ้าตู้ปลาเกิดการรั่วซึมต้องปล่อยน้ำทิ้งให้หมด เช็ดทำความสะอาดแล้วผึ่งลมให้แห้งสนิท จากนั้นก็นำมาซ่อมแซมโดยการใช้ชัน หรือกาวซิลิโคนทารอยรั่วให้เรียบร้อย ปล่อยทิ้งไว้นานพอประมาณ จนมั่นใจว่าติดสนิทดีแล้วจึงใส่น้ำลงตู้ปลา สังเกตรอยรั่วซึมของน้ำอีกครั้ง ถ้าไม่มีรอยรั่วซึมแล้วจึงเริ่มจัดตู้ปลาพร้อมปล่อยปลาลงได้ แต่ในกรณีที่เกิดจากแตกร้าวเป็นเส้นขนาดใหญ่ อยากแนะนำให้เปลี่ยนตู้ใบใหม่ดีกว่าครับ เพราะการใช้กาวซีลีโคนจะช่วยแก้ปัญหาได้ในระยะสั้นเท่านั้น หลังจากผ่านไปม่นานก็มักจะเกิดการรั่วซึมได้อีก


การเปลี่ยนกระจก ทางแฟนเจน barnpla อยากให้พิจารณาเรื่องนี้ให้ดีครับ เพราะทางร้านเราเคยมีประสบการณ์เปลี่ยนกระจกตู้ปลาขนาด 48 นิ้ว ซึ่งเราค่อนข้างมั่นใจว่าช่างที่เลือกให้บริการมีคุณภาพดีแล้ว แต่กลับเกิดเหตุไม่คาดคิด คือหลังจากเปลี่ยนไปได้ประมาณ 3-4 เดือน กระจกเกิดหลุดออกมาตอนไม่มีใครอยู่บ้าน ทำให้น้ำประมาณค่อนข้างมากในตู้ไหลทะลักออกมา ซึ่งแน่นอนว่านอกจากปลาในตู้นั้นจะตายแล้ว ข้าวของ เฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า รอบข้างก็เสียหายเป็นจำนวนมาก ซึ่งตอนนั้นเป็นบทเรียนราคาแพงของทางร้านในเรื่องนี้เลยครับ เพราะฉะนั้นหากตู้ขนาดใหญ่มีการแตกร้าวเป็นเส้นชัดเจนควรเปลี่ยนใบใหม่เลยจะปลอดภัยที่สุดครับ
การดูแลรักษาเครื่องกรองน้ำ

      เมื่อใช้เครื่องกรองน้ำไปได้ระยะหนึ่ง ประสิทธิภาพการกรองสิ่งสกปรกต่าง ๆ ก็จะลดลง ไม่สามารถแยกสิ่งสกปรกภายในตู้ปลาได้ดีเท่าที่ควรอันเป็นเหตุให้สภาพของน้ำไม่สะอาดพอ ซึ่งเราสามารถสังเกตุได้ถึงความสกปรกจากภายนอก จึงจำเป็นต้องคอยดูแลรักษาความสะอาดของตู้ปลา ให้ดีอยู่เสมอ ดังนี้

        - ควรใช้สายยางดูดเอาสิ่งสกปรกต่าง ๆ ภายในตู้ปลาอยู่เสมอ

        - ทำความสะอาดระบบกรองน้ำใต้ทราย เช่น แผ่นกรอง หลอดพ่นน้ำ และตรวจเช็คอุปกรณ์บางส่วนที่เกี่ยวข้องกับแผ่นกรองน้ำอยู่เสมอ

        - ควรเปลี่ยนใยกรอง (หรือใยแก้ว) บ่อยๆเพื่อคุณภาพที่ดีในการกรอง

        - การใช้น้ำยาปรับสภาพน้ำบางประเภอ จะช่วยเร่งการตกตะกอนในน้ำ ทำให้ขยะ ที่ตะกอนต่างๆจับตัว และไหลเข้าสู่ระบบกรองได้ดีขึ้น (ข้อมูลเพิ่มเติม)


การดูแลรักษาพันธุ์ไม้น้ำ

     ที่จำเป็นต้องคำนึงถึง คือ

      1. แสง มีส่วนที่สำคัญกับการเจริญเติบโต และเปลี่ยนแปลงรูปร่างลักษณะพันธุ์ไม้น้ำมาก เพราะแสงเป็นตัวช่วยให้เกิดปฏิกิริยาการสังเคราะห์ด้วยแสง เมื่อแสงสว่างผ่านน้ำลงไป แสงจะเกิดการหักเห พืชใต้น้ำจะได้รับแสงสว่างผิดจากความเป็นจริง พืชที่อยู่ในน้ำระดับต่าง ๆ ก็จะได้รับปริมาณแสงสว่างที่แตกต่างกันไปด้วย ดังนั้นการจัดตู้ปลา จึงควรคำนึงถึงทิศทางและความต้องการแสงของพันธุ์ไม้แต่ละชนิดด้วย การเพิ่มหลอดไฟในตู้ปลาที่ไม่ค่อยโดยแสงแดดจากธรรมชาติก็สามารถช่วยเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดี

      2. อุณหภูมิภายในตู้ปลา จะมีอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ แต่ไม่มากนักและค่อนข้างคงที่ ดังนั้นพันธุ์ไม้น้ำจึงไม่ค่อยมีผลกระทบมากนัก แต่ในกรณีในช่วงฤดูร้อนที่มีอากาศร้อนจัด บางครั้งตู้ปลาที่อยู่ในห้องปิด ตอนกลางวันจะมีอุณหภูมิของน้ำที่สูงมาก ซึ่งอาจจจะส่งผลให้ทั้งปลา และพรรณไม้น้ำที่อยู่ในตู้นั้นตายลงได้ ดังนั้นหากเป็นไปได้ เราควรเปิดหน้าต่างให้อากาศระบาย

      3. แก๊ส ปริมาณแก๊สที่สำคัญที่สุดกับพันธุ์ไม้น้ำ คือ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (co2) ซึ่งพืชทุกชนิดจำเป็นต้องใช้ในการสังเคราะห์แสง ในขณะเดียวกันพันธุ์ไม้น้ำก็คายออกซิเจน (O2) ออกมา ถ้าภายในตู้ปลามีทั้งพันธุ์ไม้น้ำ และสัตว์อยู่ด้วยกัน อัตราการคายออกซิเจนของพันธุ์ไม้น้ำ พอเหมาะกับอัตราการคายแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ของสัตว์ สภาพแวดล้อมภายในตู้ปลาก็จะมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่รวมกันได้อย่างสมดุล

      4. ความหนาแน่น หลังจากการตกแต่งพันธุ์ไม้น้ำเรียบร้อยแล้วเมื่อปลาได้รับอาหาร และมีปริมาณแสงสว่างที่เพียงพอต่อการเจริญเติบโต พรรณไม้น้ำของเราก็จะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว จนทำให้เกิดความหนาแน่น ซึ่งสภาพอย่างนี้ อาจก่อให้เกิดการเสียความสมดุลระหว่างสิ่งมีชีวิตด้วยกัน เราจึงจำเป็นที่จะต้องมีการตัดแต่งดูแล หรือเคลือบย้ายพันธุ์ไม้น้ำบ้าง


อ้างอิงจากบทความของคุณ ethan @ http://aqua.c1ub.net







ข อ ฝ า ก ร้ า น ด้ ว ย น ะ ค รั บ
แวะเลือกชมสินค้าราคาโปรโมชั่น พร้อมรับของแถม
และอุปกรณ์ตู้ปลาอื่นๆอีกมากมายได้ที่
ร้ า น บ้ า น ป ล า @ S H O P E E
 -------------------------------------------------------

ปั๊มออกซิเจน (รุ่น 1 หัว) อุปกรณ์ครบชุด พร้อมใช้งาน
ราคา 119 บาท

ชุดน้ำพุ พร้อมปั๊ม และกระบอกกรอง
ราคา 199 บาท

ปั๊มน้ำตู้ปลา พร้อมกระบอกกรองไมโครทำให้น้ำใส พร้อมเพิ่มออกซิเจนในน้ำ
ราคา 169 บาท




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น