01 กรกฎาคม 2556

ปลาสวยงามที่เลี้ยงไว้ตายเกิดจากอะไร ( ตอนที่ 1 )



คำถามนี้เป็นคำถามที่มีลูกค้าถามบ่อยเหมือนๆกันครับ ว่าปลาที่เลี้ยงไว้ตาย เลี้ยงเท่าไหร่ๆก็ตาย เบื่อมากเลย ไม่อยากเลี้ยงแล้ว ... คำถามที่ผมมักจะถามกลับไปก็คือ มันตายยังไง โดยคำตอบที่มักจะได้รับกลับมาก็คือ มันก็หยุดว่าย หงายท้อง แล้วก็ตายไงคะ แหม..ถามมาได้ ซึ่งเล่นเอามึนเหมือนกันครับ เหตุผลที่เราต้องทราบและสังเกตุว่าปลาสวยงามที่เราเลี้ยงไว้นั้นมันตายยังไง ก็เพื่อจะได้นำมาวิเคราห์หาสาเหตุการตายของพวกมันไงครับ


1.
เลี้ยงมานานแล้ว อยู่ดีๆมันก็หงายท้องตาย หรือลงไปนอนอยู่ก้นตู้แล้วตาย

ถ้าเป็นกรณีนี้ผมจะสันนิฐานก่อนว่ามันหมดอายุขัยครับ แหม ... ปลาสวยงามก็เป็นสิ่งมีชีวิตนะครับ มันก็ต้องมีเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นวัฐจักรธรรดา ปลาสวยงามโดยทั่วไปนั้น ไม่ได้มีอายุยืนยาวเหมือนสุนัขและแมวนะครับ ที่อยู่กันเป็นสิบปี ส่วนมากแล้วจะอยู่ได้ประมาณ 2-3 ปี ก็จะเริ่มป่วยตายแล้วครับ แต่กับบางประเภท บางสายพันธุ์ มีอายุเพียงไม่กี่เดือนเท่านั้น สังเกตุง่ายๆอย่างปลาหางนกยูงที่เราเลี้ยงไว้กินลูกน้ำกันแทบทุกครัวเรือนนั้น จะมีอายุเฉลี่ยประมาณไม่น่าจะเกิน 1 ปีเท่านั้น นอกจากบางสายพันธุ์ที่ดีจริงๆอาจจะมีอายุได้ถึง 2 ปี แต่หลายคนก็เถียงว่าไม่เคยจะเห็นมันตายเลย นั่นคงเพราะว่า เรานิยมเลี้ยงปลาหางนกยูงเป็นฝูงหลายๆสิบตัว ซึ่งจะทำให้เกิดการเจริญพันธุ์ ออกลูก ออกหลาน กันในบ่อบัวใบนั้น ตัวที่ตายมักจะจมลงสู่ก้นบ่อ ย่อยสลายเป็นอาหารให้กับพืชน้ำไป แถมตัวยังเล็กนิดเดียว แป๊ปเดียวก็ละลายหายไปหมด เราเลยไม่ทันสังเกตุเห็นครับ

ว่าปลาส่วนมาก อย่างเช่น ปลาทอง พอเค้าอายุเยอะมากๆแล้ว มักจะมีโรคภัยไข้เจ็บตามมา เหมือนมนุษย์เราดีๆนี่แหละครับ โดยโรคส่วนมากที่จะมักพบเห็นคือโรคเกล็ดตั้ง ซึ่งก็จะมียารักษาตามอาการ ให้เราได้ดูเค้าเล่นซักพัก ก่อนเค้าจะจากเราไปครับ แต่ที่สำคัญคือในช่วงนี้ของปลา หากเป็นไปได้เราควรแยกเค้าออกมาเลี้ยงต่างหากนะครับ เพราะเชื้อโรคที่เกิดขึ้นอาจจะแพร่ไปติดปลาตัวอื่นๆในตู้เดียวกันได้ครับ


2. เปลี่ยนน้ำปุ๊ป ตายปั๊ป

โป๊ะเช๊ะเลยครับ กรณีนี้ง่ายมาก แถมยังเป็นสาเหตุหลักๆเลยด้วยซ้ำที่ทำให้ปลาสวยงามของเราตาย เหตุผลคือในน้ำประปาที่เรานำมาเลี้ยงเค้านั้น มีสารเคมีชื่อคุ้นหูที่ชื่อว่า"คลอลีน"อยู่ครับ ซึ่งเจ้าคลอลีนนี่ก็คือยาฆ่าเชื้อแบบหนึ่ง ที่ช่วยในการฆ่าเชื้อโรคต่างๆในน้ำให้สะอาดจนเราสามารถบริโภคได้ คอลลีนนั้นถูกควบคุมให้อยู่ในปริมาณที่ไม่เป็นอันตรายกับมนุษย์ แต่ไม่ใช่กับปลา 

สำหรับผลของคอลลีนที่มีอยู่ในน้ำประปาที่มีผลกับปลานั้น เริ่มตั้งแต่ การทำให้เซื่องซึม ว่ายขึ้นมาพะงาบๆบนผวน้ำ เพราะเจ้าคลอลีนไปทำลายการทำงานของเหงือก ที่เปรียบเสมือนจมูกของปลา ทำให้ปลาหายใจลำบาก ไม่สามารถกรองอ๊อกซิเจนในน้ำเข้าสู่ตัวปลาได้ และส่วนมากปลาหลายชนิดจะตายเพราะอาการแพ้คอลลีน

วิธีที่ง่ายที่สุดในการกำจัดคลอลีนในน้ำประปา คือการเปิดน้ำใส่ภาชนะใดๆทิ้งไปไว้ก่อนที่เราจะนำไปใส่ตู้หรืออ่างปลา โดยควรเปิดทิ้งไว้อย่างน้อย 1 - 2 วันเป็นอย่างต่ำ ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายและได้ผลมาก แต่แน่นอนว่าจะมีปัญหาแน่นอนกับคนที่มีผู้ปลาขนาดใหญ่มากๆ หรือบ่อปลาขนาดใหญ่ เพราะไม่สามารถหาภาชนะมาสำรองน้ำเพื่อพักน้ำได้ สำหรับคนที่มีข้อจำกัดเรื่องการพักน้ำนั้นก็จะมีผลิตภัณฑ์สำหรับกำจัดคลอลลีน โดยใส่เพียงเล็กน้อยก็สามารถปล่อยปลาได้เลย ซึ่งถือว่าสะดวกและปลอดภัยกับปลาอีกด้วยครับ (แต่ถ้าใส่เยอะเกินก็ไม่ดีนะครับ)

Photo Credit : Here


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น